top of page

บทที่ 22 ผลักไสและส่งเสริมซึ่งกันและกัน

Updated: Nov 12, 2021

ยอมน้อมรับจึงรักษาความบริบูรณ์

โค้งงอยืดตรงได้

ที่ลุ่มตํ่ารองรับได้เต็ม ๆ

รื้อเก่าสร้างใหม่ได้

มักน้อยได้มาก

โลภมากลาภหาย

อริยบุคคลจึงรักษา "ความเป็นหนึ่ง"

เป็นบรรทัดฐานการปกครอง

ไม่คิดว่าตนรู้

จึงเริ่มเข้าใจได้

ไม่คิดว่าตนถูกต้อง

จึงเห็นเต๋าชัดแจ้ง

ไม่อวดตน จึงจะสั่งสมความดี

ไม่ผยองจึงยั่งยืน

เพราะไม่ยื้อแย่งกับใคร จึงไม่มีใครชิงอยู่เหนือท่าน

โบราณท่านว่า "ยอมน้อมรับจึงรักษาความบริบูรณ์"

เป็นคําเลื่อนลอยได้อย่างไร

เพราะทําให้เกิดความบริบูรณ์ และได้อานิสงส์ดีที่สุด


คติธรรม

1) การมีเหตุมีผลไม่แน่ว่าต้องพูดเต็มปากเต็มคำ เวลาทำงานแม้จะมีอุปสรรค เป็นไปได้ว่าจะมีความรอบคอบมากกว่า

2) ต้องรู้จักหลบซ่อนเป็น แต่มิใช่ปิดบัง เพียงแต่ให้ตนมีสภาพที่สงบ ทำการสร้างสรรค์อยู่เงียบๆ และพัฒนาได้ดี

3) ไม่ต้องกังวลว่าเดินผิดทาง ถ้าเดินผิดทางเท่ากับได้รู้จักทางเพิ่มขึ้น จงจดจำทางนี้ให้ดี เผื่อวันหน้าจะได้ใช้

4) จุดเด่นของคนเหนือคนคือ ในยามที่ประสบความยากลำบากและไม่เป็นผลดี สามารถยืนหยัดต่อสู้ด้วยความทรหดอดทน งานใหญ่สัมฤทธิ์ผลได้หาใช่อยู่ที่มีกำลังมากหรือน้อยไม่ แต่อยู่ที่สามารถเล็งเห็นทิศทางได้แม่นยำถูกต้อง และมีความพยายามไม่ระย่อท้อถอย

5) ชีวิตเปรียบเสมือนแผ่นกระดาษขาว พึงต้องอาศัยตนเองตกแต่งรจนาโดยสิ้นเชิง ทุกๆ คนต่างบันทึกประสบการณ์ชีวิตอันทรง คุณค่าของตนเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล



2 views0 comments
bottom of page