top of page

บทที่ 49 ความปรารถนาของปวงชน

อริยบุคคลเปลี่ยนความปรารถนาตามความต้องการของมวลชน

คนดีข้าดีต่อเขา

คนไม่ดีข้าก็ดีด้วย

เรียกว่า ความดีงาม

ผู้มีสัจจะข้าให้ความเชื่อถือ

ผู้ไร้สัจจะข้าก็จริงใจ

เรียกว่า เชื่อถือความมีคุณธรรม

ดังนั้น อริยบุคคลวางตนมีจิตหนึ่งใจเดียวกับคนทั่วหล้า

ปวงชนต่างมองและฟังซึ่งกันและกัน

อริยบุคคลถือปวงชนเป็นลูกหลานของตน


คติธรรม

1) ทำบุญกุศลด้วยความจริงใจ เข้าสู่ต้นกำเนิดแห่งการสร้างสรรค์ธรรมชาติ โดยไม่คำนึงถึงส่วนได้ส่วนเสีย นี่เป็นการสั่งสมคุณงามความดีที่แท้จริง

2) เต๋าไม่มีความเห็นแก่ตัว เพียงแต่สละให้ ประจักษ์ชัดหลักธรรมโดยเป็นไปเองตามธรรมชาติ เพียรพยายามปฏิบัติด้วยความสมัครใจและเหมาะสม

3) เรื่องใดๆ ก็ตามย่อมมีระยะผ่าน เมื่อผ่านวันเวลาที่ทุกข์ทรมานสุดๆ มาได้ ท่านจะพบว่า อันที่จริง เรื่องราวทั้งปวงสามารถปล่อยวางได้

4) ปัญญาอันใสซื่อ เปลี่ยนแปลงไปตามจิตใจ จะหยุดหรือมองก็ได้ สรรพสิ่งเป็นไปอย่างอิสระสบาย

5) ฝึกอบรมจิตใจให้ปลาบปลื้มยินดีและรู้คุณคน สามารถควบคุมอารมณ์ให้เยือกเย็นได้ ผู้ที่สามารถทำให้คนรอบข้างมีความรู้สึกเบิกบานใจ จะทำให้เซลล์ทั่วร่างกายเอิบอาบความเบิกบานใจไปด้วย

6) ละทิ้งอัตตาที่ทรงอำนาจไปได้ ในใจมักจะคำนึงถึงผู้อื่น เช่นนี้จึงจะมีคำว่าส่วนรวมที่อยู่เหนือกว่าได้



1 view0 comments
bottom of page