top of page

คำอำนวยพร 7 กันยายน 2564

Updated: Oct 11, 2021


** การมองเห็นข้อบกพร่องใหม่ท่ามกลางความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่  ข้อบกพร่องนั้นอาจเป็นความบกพร่องตามความเป็นจริง  หรืออาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ก็ได้  เมื่อมองเห็นจุดบกพร่อง  ต้องมีจิตใจอ่อนน้อมถ่อมตน  จึงจะไม่ใช้ความคิดของลัทธิสมบูรณ์แบบไปเรียกร้องผู้อื่น  ขณะเดียวกันยังอยู่ในสภาวะที่ก้าวหน้าพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ชีวิตอันสวยสดงดงามที่ "สมบูรณ์เลิศคล้ายบกพร่อง  แต่บทบาทนั้นมิเสื่อมสูญ" ให้ตนอยู่ตลอด


อรุณสวัสดิ์ * * *


ขอนำส่งการแบ่งปันเกี่ยวกับคัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" บทที่ 44 และคำอำนวยพรในเดือนแห่งพลัง


[ท่านจะต้องได้รับการตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่ท่านมอบอุทิศไปแน่นอน]


“ชื่อเสียงกับร่างกายอะไรใกล้ตัว”


“ชื่อเสียง” หมายถึง ชื่อเสียง เกียรติยศ ท่ามกลางประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีทั้งคนที่มีชื่อเสียงเหม็นฉาวโฉ่ และคนที่มีชื่อเสียงเป็นอมตะอยู่คู่ฟ้าดิน ในการศึกษาที่เราได้รับ ชื่อเสียงเกียรติยศถูกให้ความสำคัญมากกว่าชีวิตจริง ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีเรื่องราวของการพลีชีพเพื่อความเป็นธรรม และสละชีวิตมีอยู่ทั่วทุกหัวระแหงในหน้าประวัติศาสตร์ คำว่า “จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์” หมายถึง ชื่อเสียงที่ก้าวข้ามกาลเทศะเช่นนี้เอง


“ร่างกาย” หมายถึง ชีวิตของตนเองและคนในครอบครัว ส่วนคำว่า “ใกล้ตัว” หมายถึงความใกล้ชิด ในที่นี้หมายถึงความสำคัญ


“ชื่อเสียงกับร่างกายอะไรใกล้ตัว” คำพูดประโยคนี้หมายถึง บางคนยอมสละชีวิตเพื่อชื่อเสียง และบางคนยอมสละชื่อเสียงเพื่อชีวิต เช่นนั้นแล้ว เราควรถนอมรักชีวิตของตน หรือทุ่มแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศเหล่านั้นกันแน่เล่า ระหว่างชื่อเสียงและชีวิต สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน สิ่งไหนใกล้เคียงกับธาตุแท้ของชีวิตมากกว่า


เราต้องมองปัญหานี้ในเชิงวิภาษ หากเราเสียสละร่างกายแล้วสามารถแบกรับความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไปได้ เพื่อส่วนตัวมีชื่อเสียง เช่นนี้ถือว่าไม่คู่ควร แต่หากเพื่อรักษาชีวิตของตนไว้ แล้วต้องเสียสละผลประโยชน์ของทั่วทั้งองค์กร ตลอดจนประชาชาติ ก็ย่อมต้องถูกผู้คนเรือนพันเรือนหมื่นประณามและกลายเป็นนักโทษของประวัติศาสตร์ เมื่อดูเช่นนี้แล้ว จึงไม่มีความดีเลวหรือถูกผิดที่เด็ดขาด ไม่ว่าท่านเหลาจื่อจะอธิบายถึงปัญหาใด ล้วนเป็นการอ้างอิงตามหลักการของเต๋าที่ยิ่งใหญ่ที่ไร้อัตตา ให้คุณประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่แย่งชิง และวางตัวอยู่ที่ต่ำ ดังนั้น หากเป็นทางเลือกที่ทำเพื่อ “อัตตา” ย่อมต้องเป็นการเดินสวนทางกับเต๋า ส่วนบทสรุปของการทำเพื่อ “ส่วนรวม” แม้ดูภายนอกผู้คนอาจไม่เข้าใจ แต่ผลลัพธ์สุดท้ายต้องสอดคล้องกับเต๋าแน่นอน ด้วยเหตุนี้ ท่านเหลาจื่อจึงกล่าวไว้ในบทที่ 78 ว่า “ผู้รับอัปยศของชาติได้ จึงสมเป็นประมุขของชาติ ยอมรับภัยพิบัติ จึงเรียกว่าผู้นำได้ พูดด้านตรงเหมือนด้านกลับนั่นเอง”


ขณะเดียวกัน “ชื่อเสียง” ในที่นี้ยังหมายถึง ไม่อาจขโมยชื่อเสียงเที่ยวแอบอ้างหลอกลวงคน ประโยคที่ว่า “ชื่อเสียงกับร่างกายอะไรใกล้ตัว” ยังอาจตีความได้ว่า เป็นการกระตุ้นเตือนผู้ที่ขโมยชื่อเสียงเที่ยวแอบอ้างหลอกลวงคนเหล่านั้นให้เกิดความสำนึก ท่านเหลาจื่อหวังว่าจะไม่ต้องรอจนถึงวันที่พวกเขาทำให้ตนเองชื่อเสียงป่นปี้แล้ว ค่อยรู้ว่าชื่อเสียงเกียรติยศจอมปลอมเหล่านั้นไร้ประโยชน์ การทุ่มเทชีวิตเพื่อสิ่งเหล่านี้ คือทางเลือกที่ได้ไม่คุ้มเสียที่สุดในชีวิตคนเรา เพราะ “ชื่อเสียงที่ดี” มิได้มาจากการเขียนพรรณนา และมิใช่ใครจะมามอบให้เราได้ แต่มาจากการมอบอุทิศเพื่อสังคมอย่างแท้จริง และก้มหน้าก้มตาทำงานอย่างแท้จริงเพื่อทุกคน เมื่อนั้น แม้ไม่มีใครสรรเสริญท่าน แต่ในจิตใจของท่านจะเบิกบานอย่างมีความสุข แม้ท่านจะมิได้ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือประวัติศาสตร์ แต่ท่านจะคงอยู่ในสมุดบันทึกคุณงามความดีของฟ้าดิน สุดท้าย แม้ว่ามนุษย์จะมีการติดค้างต่อกัน แต่ฟ้าจะไม่มีวันติดค้างมนุษย์ ท่านจะต้องได้รับการตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่ท่านมอบอุทิศไปแน่นอน


ท่านเหลาจื่อได้เน้นย้ำถึงคุณสมบัติของเต๋าตลอดมาว่า “ไม่เห็นแก่ตัวจึงประสบความสำเร็จ” ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องไปคิดคำนวณ เพราะการคิดคำนวณของมนุษย์สู้ฟ้าไม่ได้อยู่แล้ว ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า ขอเพียงคนเรา “ละทิ้งปัญญาหลักแหลม” และ “ละทิ้งลาภยศเล่ห์กล” ก็ใช้ได้แล้ว เมื่อจิตใจคนฟื้นฟูสู่ความเรียบง่าย ทุกคนทำงาน ฝึกฝนจิต และสั่งสมคุณธรรมตามกฎ เมื่อถึงเวลานั้นไม่จำเป็นต้องร้องขอสิ่งใดเลย สิ่งที่ควรเป็นของท่านจะไม่ตกหล่นแม้แต่อย่างเดียว ในขณะที่กฎกำลังโคจร มันจะปรากฏขึ้นในชีวิตเราทีละอย่าง ชื่อเสียงลาภยศที่เป็นอมตะแท้จริง จะถูกเก็บไว้ในคุณธรรมเท่านั้น นี่จึงจะเป็นการได้ที่จริงแท้ที่สุด


อาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ

วันที่ 7 กันยายน 2564

(เผยแพร่วันที่ 1312)

* * *


** 在大成之中看到新的缺口,缺口可能就是现实中的缺憾,可能又成了创生的突破口。看到缺口,存谦卑的心,才不会时时以完美主义的心态要求别人。同时也是一幅处于行进发展中不断突破自我生命“大成若缺其用不弊”的美丽画面。

早安!* * *


07你必将得到与你奉献相等的回报

《道德经第44章分享暨能量月祝福》连载07

“名与身孰亲”


“名”指名誉。历史长河中,有人声名狼藉,也有人名垂千古。在我们所受的教育中,名誉确实被看得比生命更重要!因此,杀身成仁、舍生全节的故事在史册中比比皆是。所谓“青史留名”指的就是这种跨越时空的名声。


“身”指身家性命;而“亲”则指亲近,在这里表示重要的意思。


“名与身孰亲”这句话表示:有人为了名声不要命,也有人为了生命不要名声。那么,究竟是应该珍惜自己的生命?还是不惜代价去追求那些所谓的名誉呢?名誉与生命这两者,究竟哪个更重要?哪个更接近于生命的本质?


我们必须要辩证地看这个问题。如果为了个人的好名,牺牲了能为社会继续担当责任的身体,那这是不值得的;但如果为了个人的性命,牺牲了整个团体、甚至民族的利益,也一定会被千夫所指,成为历史罪人。这么看来,就没有绝对的好与坏和对与错了——老子讲任何问题,都是依据大道无我利他、不争处下的原则而谈,所以,只要是为了“小我”所作出的选择,一定是背道而驰的;而为了“大我”所得出的结论,即使表面看上去不一定被人理解,但最终的结果一定是合道的。因此,老子在第七十八章中说:“受国之垢是谓社稷主,受国之不祥是谓天下王,正言若反。”


同时,这里的“名”也是指不能欺世盗名。这句“名与身孰亲”也可以理解为对那些欺世盗名者的当头棒喝!老子希望他们不要等到把自己搞得身败名裂了,才知道那些虚名假誉是没用的——为了这些东西拼命,实在是人生中最得不偿失的选择!因为,人生中的“好名”不是描绘出来的,也不是谁奉赠给我们的;而是来自于真正为社会做贡献、默默为大家做实事。那时,即使没人吹捧你,但你心中却坦荡痛快;即使你没有出现在人间的史书上,但你却留在了天地的功劳簿中。最后,就算人欠人,但天永远不欠人——你必将得到与你奉献相等的回报!


老子一直强调大道的品格是“无私而成其私”——所以,我们用不着去算计,因为人算永远比不过天算。老子说,人只要“绝圣弃智”“绝巧弃利”就可以了,当人心恢复淳朴,大家都按照规律去做事、去修心、去积德,到时候你根本不用去求,该是你的一个也不会落下,规律在运转的同时,都会把它们一一呈现在我们的生命中。真正不朽的名誉,独存于德,这才是最真实的得到。


赵妙果,2021年09月7日,第1312天

6 views0 comments
bottom of page